|
จ่าเอกอดิเรก อรุณศรี โทร. 09 - 2542 - 9791 |
พนักงานเทศบาล
พนักงานเทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเทศบาลที่ปฏิบัติงานอันเป็นภารกิจประจำสำนักงานหรืออาจจะนอกสำนักงานก็ได้ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพราะหน้าที่ของเทศบาล นั้นต้องติดต่อและให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในเรื่องงานการทะเบียน การสาธารณูปโภค การศึกษา การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนับว่าเป็นภาระหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นมาก ซึ่งต่างกับคณะผู้บริหาร และสภาชิกสภารับผิดชอบและภารกิจในลักษณะของการ “ทำอะไร” ส่วนการ “ทำอย่างไร” ก็จะเป็นหน้าที่ของพนักงานเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบ
อำนาจหน้าที่ปลัดเทศบาลในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของฝ่ายประจำในเทศบาล มีอำนาจหน้าที่โดยรวม ๆ คือ
๔.๑ ความรับผิดชอบ ๓ ประการ
(๑) ควบคุมงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในเทศบาล
(๒) ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเป็นหัวหน้าฝ่ายประจำ
(๓) ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จากคณะผู้บริหาร (ฝ่ายบริหาร) หรือ ตามกฎหมาย โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ระหว่าง ฝ่ายบริหาร และ ฝ่ายประจำ ยึดหลักการที่ว่า ฝ่ายบริหาร เป็นผู้ "จะทำอะไร"และ ฝ่ายประจำ เป็นผู้ "จะทำอย่างไร"
๔.๒ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ๕ ประการ
(๑) ทำความเห็นเสนอผู้บริหาร สรุปรายงานเสนอแนะ (อิงระเบียบกฎหมาย)
(๒) ปฏิบัติตามกฎหมายในฐานะผู้อนุญาต อนุมัติ เห็นชอบ
(๓) เป็นนายทะเบียนท้องถิ่น (งานทะเบียนราษฎร)
(๔) เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งสมาชิกสภา และ ผู้บริหารเทศบาล
(๕) เป็นเจ้าหน้าที่งบประมาณ เป็นเลขานุการแผนพัฒนาเทศบาลปฏิบัติงานสภาเทศบาล(ทั้งโดยตรงและโดยปริยาย)
๔.๓ ความรู้ความสามารถ ๗ ประการ
(๑) มีความรู้ในด้านวิชาการปกครอง เช่น หลักรัฐศาสตร์ การประนีประนอม ฯลฯ
(๒) มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายเทศบาล พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ฯลฯ
(๓) มีความเข้าใจนโยบายและแผนงาน
(๔) มีความสามารถในการจัดทำแผน ควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบ ปรึกษาที่ดี
(๕) มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา และติดต่อประสานงาน
(๖) รู้หลักการบริหารงานบุคคล
(๗) มีความรู้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ